เมนู

อรรถกถาสัตติสตสูตร



พึงทราบอธิบายในสัตติสตสูตรที่ 5.
คำว่า เอวญฺเจตํ ภิกฺขเว อสฺส ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เหตุนี้พึงมีอย่างนี้ไซร้ เมื่อทุกขโทมนัสนั่นเทียวกระทบอยู่ไม่ขาดระยะ ก็จะพึง
บรรลุสัจจะนั้นพร้อมกันทีเดียว.
จบอรรถกถาสัตติสตสูตรที่ 5

6. ปาณสูตร



ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่



[1719] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ไม้
กิ่งไม้และใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน ครั้นแล้วกระทำให้
เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาวแล้ว พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทร
ในหลาวขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดกลางในหลาวขนาดกลาง สัตว์ขนาดเล็กในหลาว
ขนาดเล็ก ก็สัตว์ขนาดเขื่องในมหาสมุทรยังไม่ทันหมด หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ
ใบไม้ในชมพูทวีปพึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยแท้ การที่จะเอาหลาวร้อยสัตว์
ขนาดเล็กในมหาสมุทรซึ่งมีมากกว่าสัตว์ขนาดเขื่องนั้น มิใช่กระทำได้ง่าย ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะตัวมันเล็ก ฉันใด อบายก็โตใหญ่ ฉันนั้น บุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พ้นจากอบายที่ใหญ่โตอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ตามความเป็น
จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปาณสูตรที่ 6

7. ปฐมสุริยูปมสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ



[1720] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้น
ก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น
เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ
ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปฐมสุริยูปมสูตรที่ 7